หน้า [โหมดขั้นสูง]
คุณสามารถกำหนดค่าการตั้งค่าอย่างละเอียดยิ่งขึ้นในหน้า [โหมดขั้นพื้นฐาน] คุณสามารถบันทึกรายละเอียดของการตั้งค่าที่ปรับไว้เป็นรายการโปรดได้
[การตั้งค่าที่ใช้บ่อย]
เลือกการตั้งค่า เช่น โหมดสีและการปรับคุณภาพที่บันทึกไว้ก่อนแล้ว หากคุณเลือก [เพิ่ม/ลบ] คุณสามารถบันทึกการตั้งค่าการสแกนที่ใช้บ่อยได้สูงสุด 10 รายการ
[การตั้งค่าการป้อน]
ตั้งค่าวิธีตั้งค่า ขนาด และโหมดสีของต้นฉบับ
[วิธีการป้อนต้นฉบับ]
เลือกวิธีตั้งค่าสำหรับต้นฉบับ
[ขนาดการป้อน]
เลือกขนาดการสแกนเมื่อสแกนต้นฉบับ โดยทั่วไปมักตั้งค่าให้มีขนาดเท่ากับต้นฉบับ หากคุณคลิก [
] คุณจะสามารถแก้ไขอัตราส่วนความสูงและความกว้างของรูปภาพได้
โปรแกรมจะจำกัดขนาดการสแกนรูปภาพ
[การวางแนว]
หากคุณวางงานต้นฉบับที่ตัวป้อน ระบบจะตั้งค่านี้ให้ตรงกับการวางแนวต้นฉบับ นอกจากนี้เมื่อคุณวางต้นฉบับที่มีสองหน้า คุณยังสามารถตั้งค่า [ตำแหน่งเข้าเล่ม]
[โหมดสี]
เลือกโหมดสีของต้นฉบับที่จะสแกน หากคุณเลือก [ปรับปรุงตัวอักษร] ต้นฉบับจะถูกสแกนเป็นภาพขาวดำซึ่งเหมาะสำหรับการประมวลภาพด้วยซอฟต์แวร์ OCR (Optical Character Recognition)
[การตั้งค่าผลงาน]
ตั้งค่าความละเอียดผลงานและขนาดผลงาน
[ความละเอียดผลงาน]
เลือกความละเอียดโดยขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้รูปภาพ
150 dpi เป็นความละเอียดผลงานที่แนะนำเมื่อแสดงรูปภาพบนมอนิเตอร์ ส่วน 300 dpi เป็นความละเอียดเมื่อพิมพ์หรือสร้าง PDF ที่สามารถค้นหาได้
[ขนาดผลงาน]
เลือกขนาดการพิมพ์หรือแสดงขนาดของรูปภาพที่สแกน
เมื่อเลือก [ยืดหยุ่น] คุณจะสามารถตั้งค่าขนาดผลงานและอัตราส่วนความสูง-ความกว้างโดยวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
ลากและเลือกส่วนที่คุณต้องการสแกนในรูปภาพที่แสดงในภาพตัวอย่าง
ป้อนตัวเลขความสูงและความกว้าง
ป้อนมาตราส่วนในการขยายหรือการลดขนาดเป็น [%]
เมื่อคุณเลือกฟังก์ชั่นอื่นที่ไม่ใช่ [ยืดหยุ่น] หากคุณคลิก [
] คุณจะสามารถเปลี่ยนการวางแนวของกรอบการครอบตัด
ถ้าคุณเลือก [เพิ่ม/ลบ] คุณจะสามารถบันทึกขนาดผลงาน คุณสามารถบันทึกขนาดผลงานได้สูงสุด 10 ขนาดสำหรับแต่ละ [จุดประสงค์] ในหน้าจอ [เพิ่ม/ลบขนาดผลงาน]
[ขนาดข้อมูล]
ในการตั้งค่า [ความละเอียดผลงาน] และ [ขนาดผลงาน] ขนาดข้อมูลรูปภาพจะถูกแสดงเมื่อสแกนต้นฉบับ
[การตั้งค่ารูปภาพ]
เมื่อสแกนต้นฉบับที่เป็นภาพถ่าย การตั้งค่าจะแก้ไขรอยขีดข่วนและสีที่จาง
คุณสามารถตั้งค่านี้เมื่อเลือกสีหรือ [เฉดสีเทา] ใน [การตั้งค่าการป้อน] > [โหมดสี]
หมายเหตุ หากคุณเลือก [สูง] คุณภาพอาจต่ำลงและโทนสีอาจเปลี่ยน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละรายการ
[ปรับโทนสีอัตโนมัติ]
ปรับโทนสีของรูปภาพโดยอัตโนมัติ
[ลดฝุ่นและรอยขีดข่วน]
ลดผลจากฝุ่นหรือรอยขีดข่วนบนต้นฉบับ
[การแก้ไขสีจาง]
แก้ไขสีที่จางในต้นฉบับและเพิ่มความสดของสีที่หม่น
คุณสามารถตั้งค่านี้เมื่อเลือกสีใน [การตั้งค่าการป้อน] > [โหมดสี]
[การแก้ไขรอยจุด]
แก้ไขรอยจุด (ความหยาบ) เมื่อสแกนภาพถ่ายฟิล์มที่มีความไวแสงสูง เพื่อให้ได้โทนสีที่เนียนขึ้น
[ใช้ Unsharp Mask]
เน้นเส้นขอบของรูปภาพเพื่อให้คมชัดขึ้น
[ใช้ Descreen]
ลดความผิดปกติในความเข้มและลายคลื่นที่เกิดขึ้นเมื่อสแกนชิ้นงานที่พิมพ์
[แก้ไขตัวอักษรสีดำ]
แสดงเส้นขอบของตัวอักษรสีดำอย่างชัดเจน
ปุ่มโทน
ตั้งค่าความสว่าง ความเปรียบต่าง โทนสี ฯลฯ
การตั้งค่าจะเปลี่ยนโดยขึ้นอยู่กับรายการที่ตั้งค่าไว้ใน [การตั้งค่าการป้อน] > [โหมดสี] คุณสามารถตั้งค่านี้ได้เมื่อเลือกการตั้งค่าอื่นที่ไม่ใช่ [ปรับปรุงตัวอักษร] สำหรับ [โหมดสี]
เมื่อคุณเลือก [ช่องทาง] ในหน้าจอการตั้งค่าด้านล่าง หากคุณเลือก [ต้นแบบ] คุณจะสามารถปรับ [สีแดง], [สีเขียว] และ [สีน้ำเงิน] ด้วยกันทั้งหมดได้
[] (ความสว่าง/ความเปรียบต่าง)
ปรับความสว่างและสีของรูปภาพ หากคุณคลิก [
] ถัดจาก [ช่องทาง] คุณจะสามารถปรับค่าเหล่านี้ได้พร้อมตรวจดูกราฟ
[] (ฮิสโตแกรม)
ปรับความสว่างของรูปภาพขณะดูฮิสโตแกรม ในรูปภาพ (หรือพื้นที่การสแกน) ที่แสดงในภาพตัวอย่าง ให้คลิกแต่ละจุดที่คุณต้องการให้แสดงผลเป็นจุดมืด [
] จุดกึ่งกลาง [
] จุดสว่าง [
] และจุดที่ไม่มีสี [
]
คุณสามารถตั้งจุดมืด จุดกึ่งกลาง และจุดสว่างด้วย [
], [
] และ [
]
[] (การตั้งค่า Tone Curve)
เลือก Tone Curve หนึ่งรายการจากที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้เพื่อปรับความสว่างและความเปรียบต่างของรูปภาพ
[] (ตรวจสอบขั้นสุดท้าย)
ผลลัพธ์ที่เป็นไปตามการปรับความสว่าง ความเปรียบต่าง ฮิสโตแกรม และ Tone Curve จะแสดงขึ้นมา คุณสามารถตรวจสอบการตั้งค่าสีขั้นสุดท้ายได้
[] (จุดเปลี่ยน)
ปรับค่าจุดเปลี่ยนของรูปภาพขาวดำ คุณสามารถปรับค่านี้ได้เมื่อเลือก [สีดำและสีขาว] สำหรับ [การตั้งค่าการป้อน] > [โหมดสี] คุณสามารถปรับ [ระดับจุดเปลี่ยน] เพื่อให้ได้รูปภาพขาวดำที่มีความเปรียบต่างสูง
เมนูพูลดาวน์ข้างปุ่มโทน
เลือกการตั้งค่าสำหรับปุ่มโทนที่บันทึกไว้ก่อนแล้ว
หากคุณเลือก [เพิ่ม/ลบ] คุณจะสามารถบันทึกการตั้งค่าได้ คุณสามารถบันทึกการตั้งค่า Tone Curve และค่าจุดเปลี่ยนได้สูงสุดอย่างละ 20 รายการ
[รีเซ็ต]
เปลี่ยนการตั้งค่าปุ่มโทนกลับไปเป็นค่ามาตรฐาน
[ขยาย]
ขยายรูปภาพภายในกรอบการครอบตัด เนื่องจากระบบจะยิ่งแสดงรูปภาพโดยขยายใหญ่ขึ้นเมื่อกรอบการครอบตัดมีขนาดเล็ก คุณสามารถตรวจดูรายละเอียดที่มองเห็นยากด้วย [
] การคลิก [เลิกทำ] จะเป็นการกลับไปแสดงรูปภาพในขนาดต้นฉบับ
[ดูภาพตัวอย่าง]
เมื่อวางต้นฉบับบนแท่นวาง ระบบจะแสดงภาพตัวอย่างของการตั้งค่าปัจจุบัน กรอบการครอบตัดที่แสดงพื้นที่การสแกนจะปรากฏขึ้นเป็นเส้นไข่ปลาในภาพตัวอย่าง
ในภาพตัวอย่าง คุณสามารถปรับค่าขณะตรวจดูรูปภาพได้
[สแกน]
สแกนต้นฉบับโดยใช้การตั้งค่าปัจจุบัน เมื่อไม่ได้ตั้งค่ากรอบการครอบตัดไว้ ระบบจะสแกนต้นฉบับทั้งหน้า
[กำหนดลักษณะ]
ตั้งค่ารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเมื่อสแกน
[ปิด]
ปิด ScanGear MF
หน้าจอ [กำหนดลักษณะ]
คุณสามารถกำหนดค่าการตั้งค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเมื่อสแกนได้
หน้า [ดูภาพตัวอย่าง]
คุณสามารถกำหนดค่าการตั้งค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูภาพตัวอย่างและการครอบตัดโดยอัตโนมัติได้
[ดูภาพตัวอย่างเมื่อเริ่มต้น ScanGear]
ช่วยให้คุณสามารถตั้งค่าได้ว่าจะดูภาพตัวอย่างหรือไม่เมื่อไดรเวอร์เริ่มทำงาน เมื่อเลือก [แสดงรูปภาพตัวอย่างที่บันทึกไว้] รูปภาพที่เปิดดูตัวอย่างก่อนหน้านี้จะแสดงขึ้น
[กรอบการครอบตัดในรูปภาพตัวอย่าง]
ช่วยให้คุณสามารถกำหนดวิธีแสดงกรอบการครอบตัดเมื่อดูภาพตัวอย่างได้ เมื่อเลือก [แสดงกรอบสุดท้ายในรูปภาพตัวอย่าง] ระบบจะไม่ครอบตัดโดยอัตโนมัติและกรอบการครอบตัดที่กำหนดไว้ก่อนหน้าจะแสดงขึ้น
หน้า [สแกน]
คุณสามารถตั้งค่าการทำงานของไดรเวอร์ที่เกี่ยวข้องกับการสแกนด้วยโปรแกรม
[สแกนโดยไม่ใช้หน้าต่างของ ScanGear]
หากหน้าจอไดรเวอร์ไม่แสดงขึ้นเมื่อสแกน รูปภาพจะถูกสแกนด้วยการตั้งค่าโปรแกรม สำหรับกรณีนี้ ถ้าการตั้งค่าไม่ได้อยู่ในโปรแกรม คุณจะสามารถสแกนด้วยการตั้งค่าไดรเวอร์ที่เปิดใช้ในรายการต่อไปนี้
[โหมดสี (ตัวอักษรและตาราง)]
เมื่อสแกนในโหมดสี จะสแกนด้วย [การตั้งค่าการป้อน] > การตั้งค่า [สี (เอกสาร)] ของหน้า [โหมดขั้นสูง]
[ปรับปรุงตัวอักษร]
เมื่อสแกนในโหมดขาวดำ จะสแกนด้วย [การตั้งค่าการป้อน] > การตั้งค่า [ปรับปรุงตัวอักษร] ของหน้า [โหมดขั้นสูง]
[ออกจาก ScanGear โดยอัตโนมัติหลังจากการสแกน]
ตั้งค่าหน้าจอไดรเวอร์ให้ปิดโดยอัตโนมัติเมื่อการสแกนเสร็จสมบูรณ์
หน้า [การตั้งค่าสี]
คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าที่เกี่ยวข้องกับการจับคู่สีและการปรับแกมมา
[การแก้ไขสี]
เลือกวิธีการปรับสี โดยปกติมักเลือก [แนะนำ]
หากคุณเลือก [การจับคู่สี] รูปภาพที่สแกนจะถูกปรับให้มีโทนสีใกล้เคียงกับโทนสำหรับการแสดงผลบนมอนิเตอร์หรือการพิมพ์ สามารถใช้ [การจับคู่สี] ได้เมื่อเลือกสีไว้สำหรับ [โหมดสี] ในหน้า [โหมดขั้นสูง] เท่านั้น อย่างไรก็ตามจะไม่สามารถใช้ [การตั้งค่ารูปภาพ] > [การแก้ไขสีจาง] ในหน้า [โหมดขั้นสูง] และการตั้งค่าความสว่างและสีได้
[การจับคู่สี] จะถูกตั้งค่าโดยการเลือกโปรไฟล์ Windows ICC (International Color Consortium) หากรายการเหล่านี้ถูกจัดเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่ถูกกำหนดโดย Windows คุณจะสามารถเลือกโปรไฟล์ ICC ที่สร้างไว้ได้เช่นกัน
[ต้นทาง (สแกนเนอร์)]
เลือกโปรไฟล์ ICC สำหรับสแกนเนอร์
[เป้าหมาย]
เลือกโปรไฟล์ ICC สำหรับมอนิเตอร์หรือเครื่องพิมพ์
[มอนิเตอร์]
ปรับโทนสีบนมอนิเตอร์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน
[รีเซ็ต]
เปลี่ยนการตั้งค่ากลับเป็นค่ามาตรฐาน
[ดำเนินการปรับโทนสีอัตโนมัติเสมอ]
ปรับโทนสีโดยอัตโนมัติ คุณสามารถตั้งค่านี้ได้เมื่อเลือกสีหรือ [เฉดสีเทา] ในหน้า [โหมดขั้นสูง] > [โหมดสี]
[แกมมามอนิเตอร์]
ตั้งค่าแกมมาของมอนิเตอร์เพื่อแสดงรูปภาพด้วยความสว่างจริงตามต้นฉบับ เมื่อเลือกสีหรือ [เฉดสีเทา] สำหรับ [โหมดสี] ในหน้า [โหมดขั้นสูง] ระบบจะแสดงผลรูปภาพตามการตั้งค่าแกมมา
หากคุณคลิก [รีเซ็ต] ค่าแกมม่าจะเปลี่ยนกลับเป็นค่ามาตรฐาน
หน้า [สแกนเนอร์]
คุณสามารถกำหนดการตั้งค่าที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่การจัดเก็บภาพชั่วคราว การเล่นไฟล์เสียงซ้ำ และการตรวจสอบฟังก์ชั่นสแกนเนอร์
[เลือกโฟลเดอร์ที่จะใช้บันทึกไฟล์ชั่วคราว]
ระบุโฟลเดอร์ที่จะบันทึกรูปภาพไว้ชั่วคราว
[การตั้งค่าเสียง]
ระบุไฟล์เสียงที่จะเล่นซ้ำขณะสแกนต้นฉบับหรือเมื่อการสแกนต้นฉบับเสร็จสมบูรณ์ รูปแบบไฟล์ (นามสกุล) ที่รองรับมีดังนี้
ไฟล์ MIDI (.mid/.rmi/.midi)
ไฟล์ออดิโอ (.wav/.aif/.aiff)
ไฟล์ MP3 (.mp3)
[ทดสอบสแกนเนอร์]
ตรวจสอบว่าฟังก์ชั่นการสแกนทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ หากคุณคลิก [เริ่ม] ในหน้าจอ [การวินิจฉัยสแกนเนอร์] กระบวนการตรวจสอบจะเริ่มขึ้น
หน้า [การตั้งค่าภาษา]
ช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนภาษาที่แสดงใน ScanGear MF ได้ หากคุณต้องการเปลี่ยนภาษาที่ใช้แสดงผล หลังจากเลือกภาษาที่คุณต้องการใช้ใน [ภาษาที่แสดง] ให้ปิดหน้าจอ ScanGear MF จากนั้นเปิดใหม่อีกครั้ง
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง